ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวงาม
ข้าวหลามหวานมัน สนามจันทร์งามล้น
พุทธมณฑลคู่ธานี พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้า สวยงามตาแม่น้ำท่าจีน"
รูปเจดีย์องค์ใหญ่และมีมงกุฎติดอยู่ที่พระปฐมเจดีย์
เจดีย์องค์ใหญ่ คือ องค์พระปฐมเจดีย์ที่พระโสณะและพระอุตระได้สร้างขึ้นมงกุฏ
หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงอุปถัมภ์สร้างองค์พระปฐมเจดีย์ต่อเติมให้สูงใหญ่สง่างาม ตามปรากฏในปัจจุบัน
ธงประจำจังหวัดนครปฐม
จังหวัดนครปฐม ใช้อักษรย่อว่า "นฐ"
ต้นจันทน์หอม
พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดนครปฐม ชื่อวิทยาศาสตร์ Mansonia gagei Drumm. วงศ์ STERCULIACEAE ชื่ออื่น จันทน์ จันทน์ชะมด จันทน์ขาว จันทน์พม่า ไม้ต้น ขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 10 - 20 เมตร เปลือก ค่อนข้างเรียบสีเทาอมขาว เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างโปร่ง ใบ เดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี แกมรูปขอบขนานหรือแกมรูปไข่กลับ กว้าง 3 - 6 ซม. ยาว 8 - 14 ซม. ปลายใบแหลมโคนใบเว้า เบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเป็นคลื่นห่าง ๆ ดอก เล็กสีขาวออกรวมกันเป็นช่อสั้น ๆ ตามปลาย กิ่งและตามง่ามใบ ผล รูปกระสวย กว้าง 0.5 - 0.7 ซม. ยาว 1 - 1.5 ซม. มีปีกรูปทรงสามเหลี่ยม หนึ่งปีก กว้าง 1 - 1.5 ซม. ยาว 2.5 - 3 ซม. นิเวศวิทยา ขึ้นในป่าดิบแล้ง ชอบขึ้นตามเขาหินปูน ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่สูงจาก ระดับน้ำทะเล 200 - 400 เมตร ออกดอก สิงหาคม - ตุลาคม ผลแก่ ธันวาคม - มกราคม ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด ประโยชน์ เนื้อไม้ กระพี้สีขาว แก่นสีน้ำตาลเข้ม ไสกบตบแต่งง่าย ไม้ที่ตายเองจะมีกลิ่นหอมใช้ทำหีบใส่เสื้อผ้า เครื่องกลึง เครื่องแกะสลัก ทำหวี ดอกไม้จันทน์ ธูปน้ำมันหอมที่ได้จากการกลั่นชิ้นไม้ ใช้ปรุงเครื่องหอม และเครื่อง สำอาง ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจเนื้อไม้ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้โลหิตเสีย แก้กระหายน้ำและอ่อนเพลีย
"นครปฐม" เป็นอู่อารยธรรมสำคัญที่มีประวัติความเป็นมายาวนานในแผ่นดินสุวรรณภูมิจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า เมืองนครปฐมแต่เดิมนั้นตั้งอยู่ริมทะเล เป็นเมืองเก่าแก่ มีความเจริญรุ่งเรืองมานับตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ และเป็นราชธานีสำคัญในสมัยทวารวดี ในยุคนั้นนครปฐมเป็นแหล่งเผยแพร่อารยธรรมจากประเทศอินเดีย ซึ่งรวมทั้งพุทธศาสนานครปฐมจึงเป็นศูนย์กลางของความเจริญมีชนชาติต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมากต่อมาได้เกิดความแห้งแล้งขึ้น ในเมืองนครปฐม เพราะกระแสน้ำ ที่ไหลผ่านตัวเมืองเปลี่ยนเส้นทางประชาชนจึงอพยพไปตั้งหลักแหล่งอยู่ริมน้ำ และสร้างเมืองใหม่ขึ้นชื่อ " นครชัยศรี หรือ " ศรีวิชัย นครปฐมจึงกลายเป็นเมืองร้างมาเป็นเวลาหลายร้อยปีจนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ขณะที่ยังทรงผนวชอยู่ได้ธุดงค์ไปพบพระปฐมเจดีย์ และทรงเห็นว่าเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ไม่มีที่ไหนเทียบเท่าครั้งเมื่อพระองค์ได้ทรงครองราชย์จึงโปรดฯให้ก่อเจดีย์แบบลังกาครอบเจดีย์เดิมไว้ ทรงปฏิสังขรณ์สิ่งต่างๆในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ ให้มีสภาพดีและโปรดฯให้ขุดคลองเจดีย์บูชาเพื่อให้การคมนาคมสะดวกขึ้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5ได้เริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ไปยังเมืองนครปฐมแต่ตอนนั้นเมืองนครปฐมยังเป็นป่ารกอยู่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้ย้ายเมืองจากตำบลท่านาอำเภอนครชัยศรีมาตั้งที่บริเวณพระปฐมเจดีย์เหมือนเช่นครั้งสมัยโบราณ ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดฯ ให้สร้างพระราชวังสนามจันทร์สำหรับเป็นที่เสด็จแปรพระราชฐานและโปรดฯให้ตัดถนนเพิ่มขึ้นอีกหลายสาย รวมทั้งสร้างสะพานใหญ่ข้างคลองเจดีย์บูชาและได้โปรดให้เปลี่ยนชื่อจากเมือง " นครชัยศรี เป็น " นครปฐม
ที่ตั้งจังหวัดนครปฐมเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางด้านตะวันตก ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีนซึ่งเป็นพื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 13 องศา 45 ลิปดา 10 ฟิลิปดา เส้นแวงที่ 100 องศา 4 ลิปดา 28 ฟิลิปดา มีพื้นที่ 2,168.327 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,355,204 ไร่ เท่ากับ ร้อยละ 0.42 ของประเทศ มีพื้นที่เป็นอันดับที่ 62 ของประเทศ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปตามเส้นทางถนนเพชรเกษม 56กิโลเมตร หรือตามเส้นทางถนนบรมราชชนนี (ถนนปิ่นเกล้า นครชัยศรี) 51 กิโลเมตร และตามเส้นทางรถไฟ 62 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอกระทุ่มแบน อำเภอบ้านแพ้ว
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอไทรน้อย อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางกรวยจังหวัดนนทบุรี และเขตทวีวัฒนา เขตหนองแขม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี และอำเภอ ท่ามะกา อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของคุกกี้ที่เราจัดเก็บ เหตุผลในการใช้คุกกี้ และวิธีการตั้งค่าคุกกี้ได้ใน นโยบายคุกกี้ และ คำแถลงว่าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล